หน้าแรก 2019-06-07T04:04:44+00:00

Website นี้ไม่มีการหารายได้ใดๆ ทั้งสิ้น แต่ต้องการเผยแพร่ธรรมะให้กับทุกคน ถ้าดิฉันได้ให้ข้อมูลผิดพลาดประการใด ดิฉันขออโหสิกรรมกับทุกๆ ท่านในทุกๆ กรรมด้วยค่ะ

บทสวดมนต์สำหรับทุกคน
Slider

บทสวดมนต์สำหรับทุกคน

Website นี้ไม่มีการหารายได้ใดๆ ทั้งสิ้น แต่ต้องการเผยแพร่ธรรมะให้กับทุกคน ถ้าดิฉันได้ให้ข้อมูลผิดพลาดประการใด ดิฉันขออโหสิกรรมกับทุกๆ ท่านในทุกๆ กรรมด้วยค่ะ

บทสวดมนต์

บาลี
อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ภควา
พุทฺธํฺ ภควนฺตํ อภิวาเทมิ
สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม
ธมฺมํ นมสฺสามิ
สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
สงฺฆํ นมามิ

อ่าน
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สะหวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สังฆัง นะมามิ (กราบ)

แปล
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันต์
หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ข้าพเจ้าขออภิวาทพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาค
:พระพธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว
ข้าพเจ้าขอนมัสการพระธรรม
:พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคปฏิบัติดีแล้ว
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์

บาลี
อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู
อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
สตฺถาเทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ

อ่าน
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

แปล
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้แจกจ่ายธรรม
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ดีโดยชอบด้วยพระองค์เอง
ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ(ความรู้และความประพฤติ)
เสด็จไปดี(คือไปที่ใดก็ยังประโยชน์ให้ที่นั้น) ทรงรู้แจ้งโลก
ทรงเป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก หาผู้อื่นเปรียบมิได้
ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ทรงเป็นผู้ตื่น ทรงเป็นผู้แจกจ่ายธรรม

บทพระพุทธคุณ (ทำนองสรภัญญะ)
องค์ใดพระสัมพุทธ
ตัดมูลกิเลสมาร
หนึ่งนัยพระทัยท่าน
ราคี บ พันพัว
องค์ใดประกอบด้วย
โปรดหมู่ประชากร
ชี้ทางบรรเทาทุกข์
ชี้ทางพระนฤพาน
พร้อมเบญจพิธจัก-
เห็นเหตุที่ใกล้ไกล
กำจัดน้ำใจหยาบ
สัตว์โลกได้พึ่งพิง
ข้าฯ ขอประณตน้อม
สัมพุทธการุญ- สุวิสุทธสันดาน
บ มิหม่นมิหมองมัว
ก็เบิกบานคือดอกบัว
สุวคนธกำจร
พระกรุณาดังสาคร
มละโอฆกันดาร
และชี้สุขเกษมศานต์
อันพ้นโศกวิโยคภัย
ษุจรัสวิมลใส
ก็เจนจบประจักษ์จริง
สันดานบาปแห่งชายหญิง
มละบาปพำเพ็ญบุญ
ศิระเกล้าบังคมคุณ
ญภาพนั้นนิรันดรฯ

บาลี

สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา
เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ อาหุเนยฺโย
ปาหุเนยฺโย ทกฺขิเณยฺโย อญฺชลีกรณีโย
อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติ

อ่าน

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย
ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย
อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

แปล

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติตรงแล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติสมควรแล้ว
ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ
นั้นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.

บทพระสังฆคุณ (ทำนองสรภัญญะ)

สงฆ์ใดสาวกศาสดา
แต่องค์สมเด็จภควันต์
เห็นแจ้งจตุสัจเสร็จบรร-
ระงับและดับทุกข์ภัย
โดยเสด็จพระผู้ตรัสไตร
สะอาดและปราศมัวหมอง
เหินห่างทางข้าศึกปอง
ด้วยกายและวาจาใจ
เป็นเนื้อนาบุญอันไพ-
และเกิดพิบูลย์พูนผล
สมญาเอารสทศพล
อเนกจะนับเหลือตรา
ข้าฯ ขอนบหมู่พระศรา-
นุคุณประดุจรำพัน
ด้วยเดชบุญข้าอภิวันท์
อุดมดิเรกนิรัติศัย
จงช่วยขจัดโพยภัย
จงดับและกลับเสื่อมสูญฯ
รับปฏิบัติมา

ลุทางที่อัน
ปัญญาผ่องใส
บ มิลำพอง
ศาลแด่โลกัย
มีคุณอนนต์
พกทรงคุณา-พระไตรรัตน์อัน
อันตรายใดใด

” สุทินนัง วะตะ เม ทานัง อาสะวักขยาวะหัง โหตุ “

ขอให้ทาน ที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้วนี้ จงเป็นเหตุ ให้ข้าพเจ้า หมดความเศร้าหมองใจเถิด

“สุทินฺนํ วต เม ทานํ อาสวกฺขยาวหํ นิพฺพานปัจฺจโย โหตุฯ”

ขอให้ทาน ของข้าพเจ้า อันให้ดีแล้วหนอ จงนำมาซึ่ง ความสิ้นไป แห่งอาสวกิเลส จงเป็นปัจจัยแก่ พระนิพพาน ฯ

“อิมัง สูปะพยัญชะนะสัมปันนัง สาลีนัง โภชะนัง อุทะกัง วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมิฯ”

ข้าพเจ้าขอบูชาด้วยโภชนะข้าวสาลี พร้อมด้วยแกงกับ และ น้ำอันประเสริฐนี้แด่พระพุทธเจ้า

“อหํ ภนฺเต โภชนานํ สาลีนํ ปรสุทฺธํ พุทฺธสาวก สงฺฆํ ปิณฺฑปาตํ โส โหตุ ฯ”

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าวสาลีอันบริสุทธิ์นั้นจ งสำเร็จแก่พระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า นั้นเถิด ฯ

“อิมานิ มะยัง ภันเต ปังสุกูละจิวะรานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ปังสุกูละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ นิพพานายะจะ ฯ”

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าบังสุกุลจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ผ้าบังสุกุลจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ และ ความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ

“พรหมมา จะโลกาธิปะตี สะหัมปะตี กัตอัญชะลี อันธิวรัง อะยาจะถะ สันตีธะ สัตตาป ปะระชัก ขะชาติกา เทเสตุ ธัมมัง อุนะกัมปิมัง ปะชัง ฯ”

ท้าวสหัมบดี แห่งโลก ได้ประคองอัญชลีทูลวิงวอนพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐว่า สัตว์ผู้มีธุลี ในดวงตาน้อย มีอยู่ในโลกนี้ ขอพระคุณเจ้าโปรดแสดงธรรม อนุเคราะห์ด้วยเถิด

“มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะสหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุงวิสุง รักขะ นัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ”

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอศีล 5 ข้อ พร้อมทั้งพระรัตนตรัย เพื่อประโยชน์แก่ การจะรักษาต่าง ๆ กัน

“ภุมมัสมิง มิสาภาเค สันติเทวา มะหิทธิกา เตปิอัมเห อนุรักขันตุ อะโรคะเยนะ สุเขนะ จะสูปพยัญชะนสัมปันนัง สาลีนัง โภชนัง อุทะกัง วรัญจะ ปริภุญชันตุม เทวะตา ชะยะ มังคะลานุภา เวนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ เม”

“อะยัง ภูมิปะเทโส วิสุงคาโม สุขี โหตุ”

ขอภูมิประเทศ ส่วนแห่งบ้านนี้ จงมีความสุขฯ

“นามะรูปัง อะนิจจัง นามะรูปัง ทุกขัง นามะรูปัง อะนัตตา”

นามรูป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน

นโม ตสสฺ ภควโต
อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสสฺ ภควโต
อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสสฺ ภควโต
อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
(ทวน ๓ ครั้ง)

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นอรหันต์ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

บาลี
สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฺฐิโก
อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ
เวทิตพฺโพ วิญฺญูหีติ

อ่าน
สะหวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฺฐิโก
อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง
เวทิตัพโพ วิญญูหีติ

แปล
พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้…

บทพระธรรมคุณ (ทำนองสรภัญญะ)
ธรรมะคือคุณากร
ดุจดวงประทีปชัชวาล
แห่งองค์พระศาสดาจารย์
สว่างกระจ่างใจมล
ธรรมใดนับโดยมรรคผล
และเก้ากับทั้งนฤพาน
สมญาโลกอุดรพิศดาร
พิสุทธิ์พิเศษสุกใส
อีกธรรมต้นทางครรไล
ปฏิบัติปฏิยัติเป็นสอง
คือทางดำเนินดุจคลอง
ยังโลกอุดรโดยตรง
ข้าฯ ขอโอนอ่อนอุตมงค์
ด้วยจิตและกายวาจาฯ ส่วนชอบสาคร

ส่องสัตว์สันดาน
เป็นแปดพึงยล
อันลึกโอฬาร
นามขนานขานไข
ให้ล่วงลุปอง
นบธรรมจำนง

บาลี
พาหํุ สหสฺสมภินิมฺมิตสาวุธนฺตํ คฺรีเมขลํ
อุทิตโฆรสเสนมารํ ทานาทิธมฺมวธินา ชิตฺวา
มุนินฺโท ตนฺเตชสา ภวตุ เต ชยสิทฺธิ นิจฺจํ

อ่าน
พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง
อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวะธินา ชิตะฺวา
มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะสิทธิ นิจจัง

แปล
สมเด็จพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นจอมของนักปราชญ์
ทรงชนะพญามารพร้อมด้วยเสนา ซึ่งเนรมิตแขนได้ตั้งพัน
มีมือถืออาวุธครบทั้งพันมือ ขี่ช้างคีรีเมขล์ ส่งเสียงสนั่นน่ากลัว
ด้วยธรรมวิธีทานบารมีเป็นต้น และด้วยเดชาของพระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

บทชยสิทธิคาถา (ทำนองสรภัญญะ)
ปางเมื่อพระองค์ประระมะพุท-
ตรัสรู้อนุตตะระสะมา
ขุนมารสหัสสะพหุพา-
ขี่คีรีเมขะละประทัง
แสร้งเสกสะราวุธะประดิษฐ์
รุมพลพหลพยุหปาน
หวังเพื่อผจญวะระมุนิน-
พระปราบพหลพยุหะมา
ด้วยเดชะองค์พระทศพล
ทานาธิธรรมะวิธิกูล
ด้วยเดชะสัจจะวะจะนา
ขอจงนิกรพละสยาม
ถึงแม้จะมีอริวิเศษ
ขอไทยผจญพิชิตะผลาญ ธะวิสุทธะศาสดา
ธิ ณ โพธิบัลลังก์
หุวิชาวิชิตขลัง
คชะเหี้ยมกระเหิมหาญ
กละคิดจะรอนราญ
พระสมุทรทะนองมา
ทะสุชินะราชา
ระมะเลืองมะลายสูญ
สุวิมละไพบูลย์
ชนะน้อมมโนตาม
และนมามิองค์สาม
ชยะสิทธิทุกวาร
พละเดชะเทียมมาร
อริแม้นมุนินทรฯ

“อิมานิ มะยัง ภันเต ธูปะทีปะบุปผะวรานิ ระตะนัตถายัสเสวะ อภิปูชยามะอัมหากังระตะ นัตตะ ยัสสะ หิตะสุขาวะหา โหตุ อาสะวักขะยัปปัตติยา”

ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชาด้วย ธูปเทียน และ มีเทียนจำนำพรรษาเป็นต้น และ ดอกไม้ ทั้งหลาย อันประเสริฐนี้ แก่พระรัตนตรัย ก็กิริยาที่บูชาพระรัตนตรัยนี้ จงเป็นผล นำมาซึ่ง ประโยชน์ และ ความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานและเพื่อให้ถึงซึ่ง พระนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่ง อาสวกิเลส เทอญ

“สุทินนัง วะตะ เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุฯ”

ทานของเราให้ดีแล้วหนอ ขอจงเป็นเครื่อง นำมาซึ่งความสิ้นไป แห่งอาสวะกิเลส

“เสสัง มังคะลัง ยาจามิฯ”

ข้าพเจ้า ขอคืนเศษ อันเป็นมงคลนี้ ข้าพเจ้า ขอภัตต์ที่เหลือ ที่เป็นมงคลด้วยเถิด

“อิทัง ทานัง สีละวันตานัง ภิกขูนัง นิยาเทมิ สุทินนัง วะตะ เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง นิพานะปัจจะโย โหตุ”

ข้าพเจ้า ขอน้อมถวายท่านอันนี้ แด่พระสงฆ์ผู้มีศีลทั้งหลาย ทานที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้วนี้ จงเป็นปัจจัย ให้ถึงพระนิพพานด้วยเทอญ

“อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุ สังโฆ อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารนิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ”

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวาย ซึ่งภัตตาหารกับของที่เป็นบริวาร ทั้งหลายเหล่านี้แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับซึ่งภัตตาหารกับของ ที่เป็นบริวารทั้งหลาย เหล่านี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ

“อิทัง เม ญาตินัง โหตุ สุขิตาโหนตุ ญาตะโย”

ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลาย จงมีความสุขภาย สุขใจเถิด

“วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะทุกขะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะภะยะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา สัพพะโรคะวิสาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลัง”

ขอพระสงฆ์ทั้งหลาย จงสวดพระปริต อันเป็นมงคล เพื่อป้องกันความวิบัติ เพื่อความสำเร็จ ในสมบัติทั้งปวง และเพื่อให้ทุกข์ทั้งปวงพินาศไป เพื่อให้ภัยทั้งปวงพินาศไป เพื่อให้โรคทั้ง ปวงพินาศไป

“อิมัง มะยัง ภันเต, สะปะริวารัง, กะฐินะจีวะระทุสสัง, สังสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, สังโฆ, อิมัง สะปะริวารัง, กะฐินะทุสสัง, ปะฏิคคัณหาตุ, ปะฏิคคะเหตตะวาจะ, อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง, อัตถะระตุ, อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ นิพพานายะจะฯ”

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวร กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ ของ ข้าพเจ้าทั้งหลาย และ เมื่อรับแล้วขอจงกรานใช้ กฐิน ด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์ และ ความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ ฯ

“กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง อะโหสิกัมมัง สัพพะปาปัง วินัสสะตุ
อิทัง มะตะกะสะรีรัง อุทะกัง วิยะ สิญจิตัง อะโหสิ กัมมัง”

กายกรรม 3 วจีกรรม 4 มโนกรรม 3 ขอให้อโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้า ทั้งต่อหน้าและลับหลังด้วยเทอญ

“อะยัมปิ โข เม กาโย เอวัง ภาวี เอวัง ธัมโม เอวัง อะนะตีโต.”

กายของเรานี้ ต้องเป็นอย่างนี้เหมือนกัน มีอย่างนี้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ ไปได้

บทคาถา

๑.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะ สัมปันโน วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วะตะ โส ภะคะวา .
อะระหันตัง สะระณัง คัจฉามิ.
อะระหันตัง สิระสา นะมามิ.
สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ.
วิชชาจะระณะสัมปันนัง สะระณัง คัจฉามิ.
วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ.
สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ.
สุคะตัง สิระสา นะมามิ.
โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ.
โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ.

๒.
อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะทัมมะสาระถิ วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วะตะ โส ภะคะวา.
อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ.
อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ.
ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ.
ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ.
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ.
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ.
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
พุทธัง สิระสา นะมามิ. อิติปิ โส ภะคะวา ฯ

๓.
อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมิ จะ สัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปารมิ จะ สัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะสัมปันโน.

๔.
อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะวีธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อาโปธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา เตโชธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา วาโยธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิโส ภะคะวา วิญญาณะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา จักกะวาฬะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.

๕.
อิติปิ โส ภะคะวา จาตุมมะหาราชิกา ธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ตาวะติงสาธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ยามาธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตาธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระตีธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อะรูปาวะจะระธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา โลกุตตะระธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.

๖.
อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะธาตุสะมาธิ-ญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมะฌานะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.

๗.
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญานัญจายะตะนะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.

๘.
อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติมัคคะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิมัคคะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิมัคคะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะมัคคะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติผะละธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิผะละธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิผะละธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะผะละธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.

๙.
กุสะลา ธัมมา อิติปิ โส ภะคะวา อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ชัมพู ทีปัญจะ อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นะโม พุทธายะนะโม ธัมมายะ นะโม สังฆายะ
ปัญจะ พุทธา นะมามิหัง อา ปา มะ จุ ปะ, ที มะ สัง อัง ขุ, สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ, อุปะสะชะสะเห
ปาสายะโส ฯ
โส โส สะ สะ อะ อะ อะ อะ นิ เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว อะ สัง วิ สุ โล
ปุ สะ พุ ภะ อิสวาสุ สุสวาอิ กุสะลา ธัมมา จิตติวิอัตถิ.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ สาโพธิปัญ จะ อิสสะโร ธัมมา.
กุสะลา ธัมมา นันทะวิวังโก อิติ สัมมาสัมพุทโธ สุคะลาโน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.

๑๐.
จาตุมมะหาราชิกา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน อุอุ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ตาวะติงสา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นันทะ ปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ยามา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา พรหมาสัททะ ปัญจะสัตตะ สัตตาปาระมี อะนุตตะโร ยะมะกะขะ ยาวะชีวัง พุทธัง
สะระณัง คัจฉามิ.
ตุสิตา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา ปุยะปะกะ ปุริสะทัมมะสาระถิ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
นิมมานะระตี อิสสะโร กุสะลา ธัมมา เหตุโปวะ สัตถา เทวะมะนุสสานัง ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี อิสสะโร กุสะลา ธัมมา สังขาระขันโธ ทุกขัง ภะคะวะตา ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ
พรหมา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นัตถิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ.

๑๑.
นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ พุทธิลาโภกะลา กะระกะนา เอเตนะ สัจเจนะ
สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ.
นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ วัตติ วัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ.

อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง พรหมะสาวัง มะหาพรหมะสาวัง จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติ-สาวัง เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง อิสีสาวัง มะหาอิสีสาวัง มุนีสาวัง มหามุนีสาวัง สัปปุริสะสาวัง มหาสัปปุริสะสาวัง พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกาอิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ.

สาวัง คุณัง วะชะ พะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง ธัมมัง สัจจัง นิพพานัง โมกขัง คุยหะกัง ทานัง สีลัง ปัญญา นิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ยะสัง ตัปปัง สุขัง สิริ รูปัง จะตุวีสะติเทสะนัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ

๑๒.
นะโม พุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม อิติปิโส ภะคะวา.
นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม.
นะโม สังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง.
นะโม พุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ยาวะ ตัสสะ หาโย นะโม อุอะมะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา อุ อะมะ อาวันทา นะโม พุทธายะ นะ อะ กะ ติ นิ สะ ระ นะ อา ระ ปะ ขุ ธัง มะ อะ อุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ฯ
(กราบ ๓ ครั้ง)

ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) พฺรหฺมรังษี
เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนา ชินปัญชร ตั้งนะโม 3 จบ แล้วระลึกบูชา เจ้าประคุณสมเด็จด้วยคำว่า

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยมราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ

  1. ชยาสะรากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เยปิวิงสุ นะราสะภา.
  2. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา.
  3. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะ คุณากะโร.
  4. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.
  5. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.
  6. เกเลนเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภัง กะโร นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว.
  7. กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร.
  8. ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละถา มะมะ.
  9. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.
  10. ระตะนัง ปุระโต อาสี ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง.
  11. ขันธะโมระปะริตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
  12. ชินานานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.
  13. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะ ชินะ เตชะสา วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.
  14. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.
  15. อัจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข

ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ

  1. คาถาคนเกิดวันอาทิตย์ อะ วิช สุ นุส สา นุต ติ ชื่อคาถาพระนารายณ์แปลงรูปใช้ทาง เมตตามหานิยมก็ได้ สวดวันละ 6 จบ
  2. คาถาคนเกิดวันจันทร์ อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา ชื่อคาถากระทู้เจ็ดแบกใช้ทางคงกระพัน สวดวันละ ๑๕ จบ
  3. คาถาคนเกิดวันอังคาร ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง ชื่อคาถาฝนแสงห่าใช้ทางเมตตามหานิยม สวดวันละ ๘ จบ
  4. คาถาคนเกิดวันพุทธกลางวัน ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท ชื่อคาถาพระนารายณ์เคลื่อนสมุทร
  5. คาถาคนเกิดวันพุทธกลางคืน คะ พุท ปัน ทู ธัม วะ คะ ชื่อคาถาพระนารายณ์พลิกแผ่น ดินใช้แก้ความผิดต่างๆ สวดวันละ ๑๒ จบ
  6. คาถาคนเกิดวันพฤหัส ภะ สัม สัม วิ สะ เท กะ ชื่อคาถาพระนารายณ์ตรึงไตรภพใช้ทาง เมตตามหานิยม สวดวันละ ๑๙ จบ
  7. คาถาคนเกิดวันศุกร์ วา โธ โน อะ มะ มะ วา ชื่อคาถาพระพุทธเจ้าตวาดหิมพานต์ใช้ ทางมหานิยม สวดวันละ ๑๙ จบ
  8. คาถาคนเกิดวันเสาร์ โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ ชื่อคาถาพระนารายณ์ถอดจักรใช้ทางถอด คุณไสยศาสตร์ สวดวันละ 10 จบ

พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ  วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มาณีมามะ พุทธัสสะ สะวาโหม

ปัญจะมาเร ชิโนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จะตุสัจจัง ปะกาเสสิ ธัมมะจักกัง ปะวัตตะยิ เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เม ชะยะมังคะลัง

เมตตา คุณณัง อะระหัง เมตตา
เมตตัญ จะ สัพพะโล กัสมิง มานะ สัมภาวะเย อัปปะริมาณัง

เพื่อให้เกิดอานุภาพ ยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนา คาถา พระปัจเจกโพธิเจ้า ตั้งนะโม 3 จบ แล้ว ระลึกบูชา ดังนี้.

สัมปติสฉามิ นาสังสิโม
พรหมมา จะมหาเทวา สัพเพยักขา พรายันติ
พรหมมา จะมหาเทวา อภิลาภา ภวันตุเม
มหาปุณโย มหาลาโภ ภวันตุเม มิเตพาหุหติ
พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ
วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี
วิระทาสา วิระอิสถีโย พุทธัสสะ มานีมามะ
พุทธัสสะ สวาโหม สัมปติสฉามิ.
เพง เพง พา พา หา หา ฤา ฤา.

สีวะลี จะ มะหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต โสระโห ปัจจะยา ทิมหิ
สีวะลี จะ มะหาเถโร ยักขา เทวาภิปูชิโต โสระโห ปัจจะยา ทิมหิ อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
สีวะลี เถรัสสะ เอตัง คุณัง โสตถิ สวัสดิ ลาภัล ภะวันตุ เม

นะมามีมา มะหาลาภา อิติพุทธัสสะ สุวัณณังวา ระชะตังวา มะณีวา ธะนังวา พีชังวา อัตถังวา ปัตถังวา เอหิ เอหิ อาคัจเฉยยะ อิติมีมา นะมามิหัง

พระสยามมินทร์โธ วะโรอิติ พุทธะสังมิ อิติอะระหัง สะหัสสะกายัง วะรังพุทโธ นะโมพุทธายะ อิติปิ โส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ ปิยะ มะมะ นะโมพุทธายะ ปิยะมะมะ นะโมพุทธายะ

อิติสุคะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ ปะฐะวีคงคา พระภุมมะเทวา ขะมามิหัง